Sunday, April 26, 2009

วิกฤตการเงินกระทบสถาบันอุดมศึกษา

จัดทำโดย นายวิสิฐศักดิ์ อังวราฐิติรัชต์ 48714009
----------------------------------------------------------------------

วิกฤตการเงินกระทบสถาบันอุดมศึกษา
รัฐบาลได้ประกาศว่า จะตัดเงินอุดหนุนมหาวิทยาลัยบางส่วน เพื่อนำงบประมาณไปช่วยเหลือผู้มีรายได้ปานกลาย ซึ่งได้รับผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น...
ผู้เขียน: ดร.นลินี ทวีสิน ชมแล้ว: 54,168 ครั้ง
post ครั้งแรก: Fri 20 February 2009, 10:13 am ปรับปรุงล่าสุด: Fri 20 February 2009, 10:32 am
อยู่ในส่วน: วิชาการ.คอม, เศรษฐศาสตร์, สถาบันการศึกษา, สายศิลป์


หน้าที่ 1 - วิกฤตการเงินกระทบสถาบันอุดมศึกษา
ขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือนิตยสาร การศึกษาอัพเกรดกับวิชาการดอทคอม
ที่มา : นิตยสารการศึกษาอัพเกรด

ดร.นลินี ทวีสิน
ผู้อำนวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (ไอเอฟดี)
________________________________________
วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก ไม่เพียงกระทบต่อภาคธุรกิจ การเงินและการธนาคาร หรือในด้านการดำรงชีวิตของผู้คน แต่ยังกระทบถึงด้านการศึกษา โดยเฉพาะระดับอุดมศึกษา ดังกรณีของสหราชอาณาจักร การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก กระทบต่อรายได้ของมหาวิทยาลัยและงบประมาณช่วยเหลือนักศึกษายากจนของภาครัฐ

บทความนี้ เป็นการนำเสนอตัวอย่างปัญหาที่เกิดขึ้นกับมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินและวิกฤติการเงินของโลกในปัจจุบัน ดังนี้

การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินกระทบต่อรายได้มหาวิทยาลัย
จากการขึ้นลงของค่าเงินบาทในประเทศต่าง ๆ ทำให้มหาวิทยาลัยหลายแห่งใน สหราชอาณาจักรเสี่ยงต่อการสูญเสียรายได้จากนักศึกษาต่างชาติ จนส่งผลต่อสถานทางการเงินของมหาวิทยาลัย
รายงานการวิเคราะห์ของบริษัท Grant Thornton เป็นบริษัทที่ให้บริการด้านการเงินและการบัญชีที่มั่นคงแห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักร ระบุว่ามหาวิทยาลัยที่วางใจในรายได้ที่มาจากนักศึกษาต่างชาติ อาจต้องระวังมากขึ้น เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่แกว่งตัวไปมานั้น สามารถเปลี่ยนเป้าหมายการศึกษาต่อของนักศึกษาต่างชาติ โดยเฉพาะนักศึกษาจากประเทศอินเดียและจีน ซึ่งเป็นกลุ่มที่เข้ามาเรียนในสหราชอาณาจักรมากที่สุด อาจตัดสินใจศึกษาต่อภายในประเทศ หรือไปยังประเทศคู่แข่งอย่างสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย

บริษัท Grant Thornton ได้วิเคราะห์ว่า ช่วงปี ค.ศ.2006-07 มหาวิทยาลัยใน สหราชอาณาจักร มีรายได้จากนักศึกษาต่างชาติจำนวน 1.6 พันล้านปอนด์ เฉพาะนักศึกษาต่างชาติที่เข้ามาเรียนปริญญาตรี ต้องค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยคนละ 9,000 ปอนด์ต่อคนต่อปี แต่ขณะนี้ มหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งมีอิทธิพลต่อตลาดการศึกษาระดับนานาชาติอย่างมากในปัจจุบัน

กรณีค่าเงินรูปีของอินเดีย ช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม ค.ศ.2008 อ่อนค่าลงร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับเงินปอนด์ แต่เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย เงินรูปีเพิ่มค่าขึ้นร้อยละ 2 ดังนั้น นักศึกษาอินเดียต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเมื่อเข้ามาเรียนในสหราชอาณาจักร ขณะในออสเตรเลียเสียค่าใช้จ่ายถูกลง และในช่วงเวลาเดียวกัน ค่าเงินหยวนของจีนแข็งค่าขึ้น ตรงข้ามกับค่าเงินในสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย แต่เมื่อเทียบระหว่าง 3 ประเทศ นักศึกษาจีนจะเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด หากศึกษาต่อในออสเตรเลีย สถานการณ์เช่นนี้ ทำให้นักศึกษาจากจีนและอินเดีย หลีกเลี่ยงการเข้ามาเรียนในสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษาต่างชาติที่เข้ามาเรียนศึกษาต่อในสหราชอาณาจักรมากที่สุด




ข้อมูลของบริษัท Grant Thornton ยังได้ระบุว่า มีมหาวิทยาลัยจำนวน 11 แห่ง ที่อาศัยรายได้จากนักศึกษาต่างชาติมากกว่าร้อยละ 25 ของรายได้จากการเรียนการสอน และมากกว่าร้อยละ 15 ของรายได้รวมของมหาวิทยาลัย ซึ่งอาจทำให้มหาวิทยาลัยเหล่าประสบปัญหาหากนักศึกษาต่างชาติเข้ามาเรียนลดลง และในจำนวนมหาวิทยาลัยทั้ง 11 แห่ง มี 7 แห่ง อาจร่วงไปสู่เส้นแดง หากรายได้จากนักศึกษาต่างชาติตกลงเพียงร้อยละ 10 อาทิ มหาวิทยาลัยแอสตัน (Aston University) มหาวิทยาลัยซิตี้ (City University) มหาวิทยาลัยเอ็กซีเตอร์ (University of Exeter) มหาวิทยาลัยอิสต์ลอนดอน (University of East London) มหาวิทยาลัยมิดเดิลเซ็กซ์ (Middlesex University) สถาบันราชวิทยาลัยดนตรีแห่งอังกฤษ (Royal Academy of Music) และวิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและแอฟริกาศึกษา (School of Oriental and African Studies)

วิกฤติการเงิน กระทบนักศึกษายากจน
วิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อประเทศอังกฤษอย่างรุนแรง ประกอบกับค่าเงินปอนด์ไม่มีความมั่นคง เนื่องด้วยมูลค่าของเงินปอนด์มีการแข็งค่าสลับกับการอ่อนค่าตลอดเวลา เพื่อเป็นการพยุงสภาพเศรษฐกิจของประเทศ นายกอร์ดอน บราวน์ (Gordon Brown) นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ได้ทุ่มเงินไปกว่าพันล้านปอนด์ เพื่อพยุงกิจการของธนาคารและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น รัฐบาลจำต้องดึงเอางบประมาณจากภารกิจอื่น ๆ ของรัฐเข้ามาช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ
ภารกิจด้านการอุดมศึกษา เป็นหนึ่งในภารกิจของรัฐที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ จากเดิมที่มหาวิทยาลัยในในอังกฤษ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัยรัฐ จะได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลในสัดส่วนที่สูง แต่เมื่อปลายตุลาคม ค.ศ.2008 รัฐบาลได้ประกาศว่า จะตัดเงินอุดหนุนมหาวิทยาลัยบางส่วน เพื่อนำงบประมาณไปช่วยเหลือผู้มีรายได้ปานกลาง ซึ่งได้รับผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ มหาวิทยาลัยในแถบอังกฤษตอนกลาง ถูกเรียกร้องให้ช่วยเหลือตัวเองมากขึ้น สถานการณ์เช่นนี้ กระทบต่อพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อยังมหาวิทยาลัย
เงินอุดหนุนมหาวิทยาลัยที่ลดลง ย่อมทำให้เงินช่วยเหลือนักศึกษาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อยลดลงตามไปด้วย ซึ่งนักศึกษากลุ่มนี้จะเริ่มศึกษาต่อในปีการศึกษา 2009 และมีจำนวนที่เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น กระทรวงนวัตกรรม มหาวิทยาลัย และทักษะ (Department for Innovation, Universities and Skills) จึงมีนโยบายเพื่อบรรเทาภาระทางการเงินของพ่อแม่ผู้ปกครอง โดยให้เงินอุดหนุนจำนวน 2,906 ปอนด์ต่อปี ซึ่งครอบคลุมค่าครองชีพ แก่นักศึกษาจากครอบครัวที่มีรายได้ไม่เกิน 25,000 ปอนด์ต่อปี และเพิ่มจำนวนนักศึกษาที่สามารถกู้ยืมเงิน และเพิ่มจำนวนเงินที่สามารถกู้ยืมขึ้นเล็กน้อย โดยนักศึกษาจากครอบครัวที่มีรายได้สูงกว่า 25,000 แต่ไม่เกิน 50,000 ปอนด์ต่อปี สามารถกู้ยืมได้ 4,925 ปอนด์ต่อปี เพิ่มจากปี ค.ศ.2008 ที่กำหนดไว้ที่ 4,207 ปอนด์ ซึ่งจะเริ่มเรียนในปีการศึกษา 2009

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร เป็นบทเรียนสำคัญให้รัฐบาลและมหาวิทยาลัยในประเทศไทยได้ศึกษาและหามาตรการเฝ้าระวังไว้ เพื่อรับกับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทัน เพราะต้องยอมรับว่า มหาวิทยาลัยไทยไม่สามารถหลีกเลี่ยงการแข่งขันระหว่างมหาวิทยาลัยที่เกิดขึ้นทั่วโลก อีกทั้ง เมื่อเกิดกรณีวิกฤติการเงินระดับโลก หากไม่มีการสำรองงบประมาณบางส่วนไว้ สถานภาพทางการเงินของมหาวิทยาลัยอาจมีปัญหา และงบประมาณเพื่อการช่วยเหลือนักศึกษาด้อยโอกาสอาจไม่เพียงพอ อาทิ ทุนการศึกษา เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา เป็นต้น
ดังนั้น มหาวิทยาลัยอาจมีงบประมาณสำรอง กรณีเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ในส่วนรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) อาจมีงบกลางสำหรับการศึกษาโดยเฉพาะที่แยกจากงบกลางที่มีเดิม เพื่อใช้กรณีที่ไม่มีงบประมาณเพียงพอสำหรับการศึกษา เพียงแต่ให้มีการตรวจสอบการใช้งบประมาณอย่างรัดกุม นอกจากนี้ หากมหาวิทยาลัยมีเป้าหมายดึงนักศึกษาต่างชาติเข้ามาศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ควรมีแผนสำรองกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินในประเทศนั้น ๆ เป็นต้น

*หมายเหตุ งานเขียนชิ้นนี้ ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิทางปัญญา โดยลิขสิทธิเป็นของผู้เขียน ที่ให้เกียรตินำเผยแพร่ผ่าน วิชาการ.คอม เรามีความยินดีและอนุญาตให้ทำซ้ำหรือเผยแพร่ต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาเท่านั้น กรุณาให้เกียรติผู้เขียน โดยอ้างชื่อผู้เขียนและ วิชาการ.คอม (www.vcharkarn.com) ทุกครั้งที่ทำการเผยแพร่ต่อ ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อในสื่อที่เอื้อประโยชน์ทางธุรกิจก่อนได้รับอนุญาต ขอขอบคุณที่ร่วมกันช่วยสร้างให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งปัญญา



แหล่งที่มา : http://www.vcharkarn.com/varticle/38397


------------------------------------------------------------------------------------------------


คำถาม
1. บริษัท Grant Thornton เป็นบริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับอะไร



2. บริษัท Grant Thornton ได้วิเคราะห์ว่า ช่วงปี ค.ศ.2006-07 มหาวิทยาลัยใน สหราชอาณาจักร มีรายได้จากนักศึกษาต่างชาติจำนวนเท่าไร



3. วิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อประเทศอังกฤษ นายกอร์ดอน บราวน์ (Gordon Brown) นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ได้ทุ่มเงินไปกว่าพันล้านปอนด์เพื่ออะไร

Tuesday, April 14, 2009

หนี้เพิ่ม ออมลด กระทบสภาพคล่อง

จัดทำโดย นายวิสิฐศักดิ์ อังวราฐิติรัชต์ 48714009
--------------------------------------------------------------------------------------------------

กิจการสหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นจากการรวมตัวของสมาชิกในหน่วยงานเดียวกัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมให้สมาชิกออมเงิน และให้บริการเงินกู้ยืมแก่สมาชิกที่มีความจำเป็นเดือดร้อนทางการเงิน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าเจ้าของและผู้ใช้บริการในระบบสหกรณ์เป็นบุคคลเดียวกัน สมาชิกส่วนใหญ่ของสหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นชนชั้นกลางที่มีรายได้ประจำ การดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ค่อนข้างเป็นระบบปิดภายในเฉพาะหน่วยงานของตนเอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ภาพรวมระบบสหกรณ์ออมทรัพย์มีจำนวนสหกรณ์ตามทะเบียนทั้งสิ้น 1,291 แห่ง ในจำนวนนี้สามารถติดตามรวบรวมข้อมูลได้จำนวน 1,205 แห่ง มีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 2.29 ล้านคน และมีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 7.31 แสนล้านบาท
ระบบสหกรณ์ออมทรัพย์ มีจุดเด่นที่ทุนเรือนหุ้นซึ่งจะเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ตามข้อบังคับที่ให้สมาชิกถือหุ้นในสหกรณ์เพิ่มขึ้นทุกเดือน โดยบางสหกรณ์ได้นำระบบการคำนวณสัดส่วนการถือหุ้นของสมาชิกให้เพิ่มขึ้นตามระดับเงินเดือน ซึ่งทำให้สหกรณ์มีเงินทุนสำหรับการขยายผลการดำเนินงานให้เติบโตขึ้นค่อนข้างสม่ำเสมอ โดยข้อมูล ณ สิ้นปี 2550 สหกรณ์ออมทรัพย์สามารถให้บริการเงินกู้แก่สมาชิกได้ถึง 5.81 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 11.3% ของสินเชื่อรวมในระบบธนาคารพาณิชย์ไทยในปีเดียวกันที่มียอดคงค้างอยู่ทั้งสิ้น 5.16 ล้านล้านบาท
ทั้งนี้ ตัวเลขผลการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ค่อนข้างล่าช้า โดยล่าสุดมีถึงปี 2550 เท่านั้น แต่เนื่องจากแนวโน้มสถานการณ์เศรษฐกิจในปี 2552 อาจจะมีปัญหาจากวิกฤตเศรษฐกิจการเงินที่ต่อเนื่องมาจากปี 2551 จึงทำให้ประเด็นในเรื่องสภาพคล่องและการดำเนินการของสหกรณ์ออมทรัพย์เป็นประเด็นที่น่าสนใจ ถึงแม้ว่าการดำเนินธุรกิจของกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์ส่วนใหญ่ค่อนข้างเป็นระบบปิดภายในเฉพาะหน่วยงานของตนเอง แต่สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย อาจส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์ได้
แนวโน้มธุรกิจสหกรณ์ออมทรัพย์ปี 2552
เศรษฐกิจไทยในปี 2552 อาจจะเติบโตช้าลงเป็นประมาณ 0-1.2% เทียบกับในปี 2551 ที่คาดว่าจะเติบโตในระดับประมาณ 2.9% ซึ่งแม้เศรษฐกิจไทยอาจไม่ประสบภาวะถดถอยรุนแรงเหมือนที่เกิดขึ้นกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก แต่ต้องยอมรับว่าการเติบโตที่เกิดขึ้นนี้ เป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐเป็นสำคัญ ผ่านการใช้เงินงบประมาณทั้งเพื่อการลงทุนและการลดภาษีต่างๆ ขณะที่ในภาคเอกชน โดยเฉพาะในภาคเศรษฐกิจจริง (real sector) ล้วนแต่ได้รับผลกระทบค่อนข้างรุนแรง ถึงกับต้องปรับลดกำลังการผลิต และการจ้างงาน แม้แต่การปิดกิจการในบางแห่ง ซึ่งอาจส่งผลต่อระดับรายได้ของประชาชนโดยเฉพาะระดับกลางและล่างให้ลดลง เนื่องจากความสามารถในการจ่ายเงินเดือนเพิ่มและการรับพนักงานใหม่ขององค์กรต่าง ๆ มีแนวโน้มลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ
ปัจจัยดังกล่าว มีผลให้การดำเนินธุรกิจสหกรณ์ออมทรัพย์ในปี 2552 เผชิญความท้าทายเพิ่มขึ้น โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีมุมมองต่อประเด็นที่อาจมีผลต่อการดำเนินงานของกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์ ดังนี้

1. ความเสี่ยงต่อภาวะตึงตัวของสภาพคล่อง : แม้ว่าสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์อาจจะเผชิญความเสี่ยงจากการว่างงานน้อยกว่าแรงงานในภาคอุตสาหกรรมหรือบริการ แต่ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว สมาชิกอาจมีความต้องการสภาพคล่องเพิ่มขึ้นจากรายได้ที่อาจลดลง เช่น ค่าล่วงเวลา (OT) หรืออาจมีความจำเป็นที่ต้องใช้เงินมากขึ้น เพราะหมุนเงินยากขึ้น เป็นต้น
ดังนั้น จึงมีความเป็นได้สูงที่ระดับการออมของสมาชิกสหกรณ์อาจจะลดลงต่อเนื่องในปีนี้ สวนทางกับความต้องการสินเชื่อที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากรายได้อาจจะเพิ่มขึ้นช้าลง ขณะที่ค่าครองชีพยังอยู่ในเกณฑ์สูง แม้ว่าปัญหาเงินเฟ้อและราคาน้ำมันจะคลี่คลายลงในปีนี้ก็ตาม แต่ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปไม่ได้ปรับลดลงตามในสัดส่วนเดียวกัน
ปัจจัยข้างต้นอาจส่งผลให้สภาพคล่องทางการเงินในระบบสหกรณ์ออมทรัพย์ลดลง ดังนั้น แม้ว่าทิศทางอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินจะมีแนวโน้มอ่อนตัวลงชัดเจนในปีนี้ แต่สหกรณ์ออมทรัพย์บางแห่งอาจยังไม่สามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงได้เร็วและมากเท่าตลาดได้ เนื่องจากอาจจะส่งผลกระทบให้เงินฝากไหลออก ขณะเดียวกัน กระแสการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้น่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ ซึ่งอาจส่งผลให้แนวโน้มผลประกอบการของกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์มีกำไรลดลงตามไปด้วย

2. สหกรณ์ออมทรัพย์ที่สมาชิกส่วนใหญ่มีภาระหนี้สินมากกว่าเงินออม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ในภาคราชการ เช่น ตำรวจ ทหาร และครู อาจได้รับผลกระทบมากกว่าสหกรณ์ ที่สมาชิกส่วนใหญ่มีเงินออมมากกว่าภาระหนี้สิน เนื่องจากมีความจำเป็นต้องพึ่งแหล่งเงินกู้ยืมจากภายนอก ขณะที่แหล่งเงินกู้อาจระมัดระวังปัญหาความเสี่ยงด้านเครดิตที่เพิ่มขึ้นในภาวะเศรษฐกิจซบเซา ไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืมจากสหกรณ์ออมทรัพย์อื่น หรือจากระบบธนาคารพาณิชย์ก็ตาม โดยอาจส่งผลให้วงเงินสินเชื่อลดลง หรือแม้แต่ต้นทุนการกู้ยืมแพงขึ้น ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของสหกรณ์ฯเองในปี 2552 ในเรื่องความสามารถในการทำกำไร และแนวโน้มการจ่ายปันผลแก่สมาชิกในอัตราที่ลดลงแล้ว ยังอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของสมาชิกสหกรณ์บางส่วนด้วย โดยเฉพาะในรายที่จำเป็นต้องพึ่งเงินกู้หมุนเวียนเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจต้องขอรับบริการทางการเงินจากแหล่งเงินกู้นอกระบบ

3. ความสามารถในการชำระหนี้ เป็นประเด็นที่ต้องเฝ้าระวัง และติดตามต่อไป แม้ว่าในภาพรวมทั้งระบบสหกรณ์ออมทรัพย์ปี 2550 จะมีหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพียง 1,146 ล้านบาท คิดเป็น 0.2% ของลูกหนี้เงินกู้คงค้างทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก 30% ของเงินให้กู้ยืมเป็นการกู้ยืมเพื่อชำระคืนหนี้เดิม ซึ่งบ่งชี้ว่าหากลูกหนี้กลุ่มนี้ประสบปัญหาเรื่องการบริหารรายได้กับรายจ่ายแล้ว จึงอาจมีความเสี่ยงที่ลูกหนี้กลุ่มนี้จะกลายเป็นหนี้เสียได้มาก

--------------------------------------------------------
แหล่งที่มา : http://www.siamrath.co.th/UIFont/Articledetail.aspx?nid=2663&acid=2663



คำถาม

1. กิจการสหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นจากการรวมตัวของสมาชิกในหน่วยงานเดียวกัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่ออะไร


2. จุดเด่นของระบบสหกรณ์ออมทรัพย์ คืออะไร


3. ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีมุมมองต่อประเด็นที่อาจมีผลต่อการดำเนินงานของกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์อย่างไร



เศรษฐกิจ ปี 2552 คุณคิดว่าธุรกิจอะไรจะอยู่รอด?

จัดทำโดย นายธีรวิทย์ วิบูลผล
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ (Hamburger Crisis)” ที่เกิดขึ้นมาจากสถาบันทางการเงินระดับยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกาต้องล้มครืน ส่งผลให้เศรษฐกิจและตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกต้องสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง หลายองค์กรใหญ่ๆ ในภาคการผลิต (Manufacturing) ได้รับผลกระทบโดยตรงเหล่าบริษัทขนาดใหญ่ๆที่มีชื่อเสียงระดับโลก เช่น บริษัทอุตสาหกรรมอิเล็กโทรนิกส์ บริษัทอุตสาหกรรมการบิน บริษัทอุตสาหกรรมขนส่ง สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ระดับโลก และอีกหลายธุรกิจ ที่ประกาศปลดพนักงานเป็นรายวัน อย่างที่เป็นข่าวครึกโครมอยู่ในทุกวันนี้ มันทำให้เรารู้สึกใจหายกันมากทีเดียว
ในเมืองไทยเราเองก็กำลังตกอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ต่างกับประเทศอื่นๆ เช่นนี้ ธุรกิจ SME หลายแห่ง แห่ปิดตัวตามๆกันเลย ส่วนบางธุรกิจที่ดีหน่อยยังพอประคองตัวรอดได้ แต่ก็ save cost กันน่าดู อย่างที่เห็นตามข่าว เค้าโละพนักงานทิ้งเป็นผักปลากันทีเดียวเชียว บ้างก็ไม่จ่ายโบนัส อ้างว่าขาดทุนบ้างล่ะ ... มันเลยทำให้คิดว่า ในสภาพเศรษฐกิจแบบนี้จะมีธุรกิจอะไรนะ ! ถึงจะไปรอด?...ในยามที่คนรัดเข็มขัดกันแน่น (ในสภาพที่ไม่ต่างอะไรกับปี 40 ผู้รู้หลายคนบอกว่าแย่กว่าซะอีก) ช่วงนี้คนใช้เงินใช้ทองประหยัดมากขึ้น นิยมอยู่กับบ้านมากกว่าออกไปข้างนอก ซึ่งคาดว่าจะเป็นแบบนี้ไปอีกนานเลยทีเดียว
พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสกันอย่างไรดี? ทำอะไรถึงจะไปรอด? ไปอ่านเจอในบล็อกๆหนึ่งที่ชื่อว่า blog.beenverified.com ซึ่งเค้าเปิดประเด็น “What to Look for in 2009 or What Companies Will Survive the Coming Economic Storm” ไว้..แล้วให้ขาบล็อกทั้งหลายเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันว่า..
บริษัทอะไรถึงจะอยู่รอดปลอดภัยจากพายุเศรษฐกิจและจะคาดหวังอะไรในปี 2009 ที่บล็อกนี้น่าสนใจเพราะชาวบล็อกที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่นั้นเป็นชาว Gen X และ Gen Y ที่ชอบเล่นเน็ตอยู่แล้ว และบางคนก็ไม่ใช่พวกว่างงาน ที่ชอบท่องเน็ตไปวันๆเท่านั้น แต่เค้าทำรายได้จากการทำธุรกิจอินเทอร์เน็ต ปีละกว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐ กันเลยทีเดียว..
หลายคนอ่านมาถึงตรงนี้อาจเกิดความคิดว่า.. ทำรายได้จากอินเทอร์เน็ตนะหรือ? ทำอย่างไร? ทำแล้วได้เงินจริงหรือ? แล้วทำไมต้องเป็นธุรกิจอินเทอร์เน็ต? ลองมาดูความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่กันค่ะ
ชาวบล็อกคนหนึ่งที่ชื่อ “Josh” เค้าได้สรุปถึง การทำธุรกิจออนไลน์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตไว้ว่า... ธุรกิจนี้น่าจะเป็นแนวทางหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับองค์กรและบุคคลที่กำลังมองหาธุรกิจ “Blue Ocean” (หมายถึง ธุรกิจในมหาสมุทรสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นธุรกิจตลาดที่คู่แข่งยังมีไม่มาก) โดยเค้ามองว่าธุรกิจที่น่าจะประสบความสำเร็จในปี 2009 คือ

1.ธุรกิจที่ช่วยบุคคลหรือองค์กรในการสร้างรายได้ (Help people / businesses make
money.)

2.ธุรกิจที่ช่วยบุคคลหรือองค์กรในการประหยัดเงิน (Help people / businesses save money.)

3.ธุรกิจที่ช่วยบุคคลหรือองค์กรในการเข้าถึงแหล่งเงินหรือแหล่งทุน (Help people / businesses access money.)

จากการวิเคราะห์ตามแนวทางนี้แล้ว มันก็เป็นธุรกิจหนึ่งที่น่าสนใจสร้างรายได้เพราะ ยุคนี้เป็นยุคดิจิตอลจริงๆ โลกเราทุกวันนี้เป็นโลกแห่งอินเทอร์เน็ต ใครอยากรู้อยากหา อยากอ่าน หรือแม้กระทั่ง อยากซื้อสินค้าอะไรก็ค้นหาได้ทางอินเทอร์เน็ต ธุรกิจนี้จึงเป็นโอกาสของผู้ที่ต้องการทำธุรกิจขนาดเล็กๆ และเป็นทางเลือกให้แก่คนรุ่นใหม่ที่อยากสร้างรายได้อย่างไร้ขีดจำกัดในยามเศรษฐกิจถดถอยแบบนี้
ซึ่ง Josh ยังคาดการณ์ด้วยว่าเศรษฐกิจแบบนี้ จะมีคนอยู่กับบ้านแล้วเล่นอินเทอร์เน็ตมากขึ้นทั้งหางานทำ หาเพื่อน ดูหนัง เล่นเกม ขายของเก่า ฯลฯ เขาจึงคิดว่าถ้ามีผู้ทำธุรกิจ ด้านจัดหางาน ขายเกม ขายหนัง ธุรกิจหาเพื่อน (หาแฟน) ธุรกิจให้คำแนะนำเรื่องการประหยัดค่าใช้จ่าย เช่น ติดตั้งอุปกรณ์ที่ช่วยประหยัดไฟหรือน้ำ พวกนี้สร้างรายได้ให้เราได้แน่นอน...
โอกาสดีๆ มีอยู่รอบๆตัวเราเองเสมอๆ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะมองเห็นมันหรือไม่..และเมื่อมองเห็นแล้วจะคว้ามันไว้ และทำมันให้สำเร็จได้หรือไม่...


แหล่งที่มา: http://blog.beenverified.com/what-to-look-for-in-2009or-what-companies-will-survive-the-coming-economic-storm/2008/10/20/




คำถาม

1. Josh สรุปการทำธุรกิจออนไลน์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตไว้ว่าอย่างไร


2. ธุรกิจ Blue Ocean ในบทความนี้หมายถึงอะไร


3. Josh มองว่าธุรกิจที่น่าจะประสบความสำเร็จในปี 2009 คืออะไร



Sunday, April 5, 2009

จำเป็นต้องยืดระยะเวลาคุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวนเพิ่มอีก 2 ปีหรือไม่???

จัดทำโดย นายธีรวิทย์ วิบูลผล
----------------------------------------------------------------------------------------------

จำเป็นต้องยืดระยะเวลาคุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวนเพิ่มอีก 2 ปีหรือไม่???

27 มีนาคม 2552 จรัสวิชญ สายธารทอง

วิกฤตสถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกาที่เป็นต้นเหตุของการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก โดย
วิกฤตครั้งนี้ได้ลุกลามและส่งผลกระทบในวงกว้างต่อตลาดเงิน ตลาดทุน และเศรษฐกิจโดยรวมของ
นานาประเทศ ด้วยเหตุนี้เอง รัฐบาลของแต่ละประเทศจึงได้ออกมาตรการเพื่อรองรับวิกฤตเศรษฐกิจ
โลกไม่ว่าจะเป็นมาตรการลดดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลาง มาตรการช่วยเหลือภาค
อสังหาริมทรัพย์ มาตรการเพิ่มสภาพคล่องให้ระบบการเงิน มาตรการค้ำประกันเงินกู้ของธนาคาร
หรือมาตรการรับซื้อหนี้เสียของสถาบันการเงินมาบริหาร นอกจากมาตรการดังกล่าวแล้ว จะเห็นได้ว่า
รัฐบาลของประเทศต่างๆ ทั้งในสหรัฐฯ ประเทศแถบยุโรปและเอเชียได้นำมาตรการเพิ่มวงเงิน
ประกันและ/หรือรับประกันเงินฝากเต็มจำนวนมาใช้ แต่สำหรับประเทศไทยเพิ่งมีการจัดตั้งสถาบัน
คุ้มครองเงินฝากภายใต้พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม
2551 ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเพื่อคุ้มครองเงินฝากของผู้ฝากเงินในสถาบันการเงิน
เสริมสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน และดำเนินการกับสถาบันการเงินที่
ถูกควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน รวมทั้งชำระบัญชีสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอน
ใบอนุญาต โดยสถาบันคุ้มครองเงินฝากจะให้การคุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวนในปีแรกเท่านั้น และจะ
ทยอยลดวงเงินจ่ายคืนเหลือ 1 ล้านบาทในปีที่ 5
อย่างไรก็ตาม กฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝากมีบทบัญญัติให้สามารถเพิ่มวงเงิน
คุ้มครองได้ในช่วง 4 ปีแรกของการบังคับใช้กฎหมาย หากภาวะเศรษฐกิจและระบบการเงิน
เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญอันเป็นเหตุให้ต้องกำหนดจำนวนเงินที่ให้การคุ้มครองเงินฝากเพิ่มขึ้น
โดยให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวน
เงินฝากที่ได้รับการคุ้มครองเพิ่มขึ้น พ.ศ. .... ในสมัยรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ โดยได้ผ่านการ
เห็นชอบในหลักการจากคณะรัฐมนตรีแล้วเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2551 แต่หลังจากที่มีการเปลี่ยน
รัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กระทรวงการคลังได้ยืนยันร่างพระราชกฤษฎีกาฯ
ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่งแล้ว ดังนั้น บทความนี้จะอธิบายถึงเหตุผลและความจำเป็นที่
ประเทศไทยต้องยืดระยะเวลาคุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวนเพิ่มอีก 2 ปี
เหตุผลแรก คือ การที่ระบบเศรษฐกิจทั่วโลกมีการเชื่อมโยงกัน(Globalization) อย่างใกล้ชิด
โดยเฉพาะประเทศที่มีบทบาทต่อการกำหนดทิศทางของเศรษฐกิจโลกอย่างสหรัฐฯ หากสหรัฐฯ เข้า
สู่ภาวะถดถอยแล้ว เศรษฐกิจโลกก็ต้องได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน จากการศึกษาข้อมูลสถิติของ
สหรัฐฯ ในการเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) ของ National Bureau of Economic Research (NBER)
2
ในช่วงปี 1945-2007 พบว่า เศรษฐกิจของสหรัฐฯ มีการถดถอยถึง 3 ครั้ง โดยแบ่งเป็น 3 ช่วง
ระยะเวลา คือ ช่วงที่ 1 ตั้งแต่ปี 1980-1982 เป็นเวลาประมาณ 2 ปี โดยมีสาเหตุมาจากวิกฤตน้ำมัน
(1973) และวิกฤตพลังงาน(1979) ช่วงที่ 2 เกิดเมื่อเดือนกรกฎาคม 1990 - มีนาคม 1991 เป็นเวลา
ประมาณ 8 เดือน โดยมีสาเหตุมาจากเหตุการณ์ Black Monday และ Gulf war และช่วงที่ 3 เกิดขึ้นเมื่อ
เดือนพฤศจิกายน 2001- พฤศจิกายน 2002 สาเหตุมาจากฟองสบู่แตกจาก Dot.com หรือ Dot.com
bubble เป็นเวลาประมาณ 12 เดือน และในขณะเดียวกันจากข้อมูลของ International Monetary Fund
(IMF) พบว่าเศรษฐกิจโลกมีการถอดถอยถึง 3 ครั้งในปี 1990-1993, 1998 และ 2001-2002 สาเหตุมา
จากประเทศที่มีบทบาทต่อการกำหนดทิศทางเศรษฐกิจโลก ด้วยเหตุนี้ ปี 2008 เศรษฐกิจโลกจึงหนี
ไม่พ้นผลกระทบจากวิกฤตการเงินของประเทศสหรัฐฯ โดยมีความเป็นไปได้ว่า การถดถอยของ
เศรษฐกิจโลกครั้งนี้อาจใช้เวลาถึง 2 ปี และจะกระทบมาถึงไทยด้วย เนื่องจากไทยเป็นประเทศเปิดเสรี
(Open economy) และมีการพึ่งพาการส่งออกเป็นหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
เหตุผลที่ 2 คือ การที่นานาประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศในแถบยุโรป และ
เอเชียได้ทยอยประกาศเพิ่มวงเงินประกันและ/หรือประกันเงินฝากเต็มจำนวนแล้ว เช่น เดนมาร์ก
สวีเดน ฟินแลนด์ อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส สเปน ฮอลแลนด์ เยอรมัน ออสเตรีย ไต้หวัน ฮ่องกง
นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับระบบการเงินในยามวิกฤต และเพื่อ
ยับยั้งการเคลื่อนย้ายเงินฝากหรือเงินทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่ให้ความคุ้มครองสูงกว่า เพื่อให้เห็น
ภาพชัดเจนยิ่งขึ้น จะขอยกตัวอย่างประเทศเพื่อนบ้านของไทยคือ มาเลเซียและสิงคโปร์ที่ได้ร่วมกัน
ประกาศประกันเงินฝากในบัญชีธนาคารทั้งหมดเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2551 จนถึงเดือนธันวาคม 2553
เนื่องจากเศรษฐกิจและการเงินของทั้ง 2 ประเทศมีความเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งหากสิงคโปร์มี
มาตรการนี้ออกมาแต่มาเลเซียไม่ทำตาม ก็จะมีความเป็นไปได้ที่จะมีการเคลื่อนย้ายเงินฝากจาก
มาเลเซียไปสิงคโปร์
อย่างไรก็ดี จากรายงานผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์สำหรับปี 2551 ของ
ธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่าระบบธนาคารพาณิชย์โดยรวมมีเสถียรภาพ โดยธนาคารทุกแห่งได้กัน
สำรองตามเกณฑ์มาตรฐานบัญชีสากล(IAS 39) ครบถ้วนแล้วตั้งแต่ปี 2550 ทำให้ระบบธนาคาร
พาณิชย์มีการเตรียมความพร้อมไว้รองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตที่ดีขึ้น นอกจากนี้แล้ว
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการนำเกณฑ์ Basel II มาเริ่มใช้ ณ สิ้นปี 2551 ทำให้ฐานะเงินกองทุน
ต่อสินทรัพย์เสี่ยง(BIS) อยู่ที่ระดับร้อยละ 14.2 ซึ่งก็ยังสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำตามกฎหมายที่กำหนดไว้
ร้อยละ 8.5 และมีสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Gross Non Performing Loan) คิดเป็นร้อยละ 5.3 ของ
ยอดสินเชื่อรวม และ Net NPL ร้อยละ 2.9 ของยอดสินเชื่อรวม ซึ่งเป็นตัวเลขที่ลดลงต่อเนื่องจาก
ไตรมาสก่อนหน้านี้ และการทำธุรกรรมทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ไทยที่มีต่อการถือสินทรัพย์
ต่างประเทศของบริษัทหรือสถาบันการเงินต่างประเทศมีประมาณร้อยละ 1.3 ของสินทรัพย์
3
ต่างประเทศทั้งหมดที่ธนาคารพาณิชย์ถือสินทรัพย์อยู่ และการลงทุนใน Collateralized Debt
Obligation (CDO) ก็มีเพียงประมาณร้อยละ 0.2
ถึงแม้ไทยจะมีระบบการเงินที่เข้มแข็ง แต่การที่เศรษฐกิจโลกมีการเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด
และหลายประเทศได้ประกาศเพิ่มวงเงินประกันและ/หรือประกันเงินฝากเต็มจำนวนแล้ว ไทยก็ต้องมี
มาตรการเพื่อเตรียมรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น กระทรวงการคลังจึงเสนอมาตรการโดย
ให้สถาบันคุ้มครองเงินฝากยืดระยะเวลาคุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวนเพิ่มขึ้นอีก 2 ปี ตามเหตุผลที่ได้
กล่าวมาแล้วข้างต้น โดยตารางข้างล่างนี้แสดงการเปรียบเทียบระหว่างการให้ความคุ้มครองเงินฝาก
ตามพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 และร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยกำหนด
จำนวนเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครองเพิ่มขึ้น พ.ศ. .... ที่กระทรวงการคลังเสนอ
พ.ร.บ. สถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 ร่างพ.ร.ฎ.ที่กระทรวงการคลังเสนอ



หากพิจารณาถึงการขยายระยะเวลาการคุ้มครองเงินฝากแบบเต็มจำนวนในปีที่ 2 และปีที่ 3
(11 สิงหาคม 2552 - 10 สิงหาคม 2554) จะคุ้มครองผู้ฝากเงินเพิ่มขึ้นเพียงประมาณร้อยละ 0.02 แต่จะ
คุ้มครองเงินฝากเพิ่มเป็นร้อยละ 18.11 ของเงินฝากทั้งระบบ นอกจากนี้แล้ว การขยายระยะเวลาการ
คุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวนเพิ่ม 2 ปี จะสามารถครอบคลุมถึงประเภทบัญชีที่ได้รับการคุ้มครองจำกัด
จำนวนตามกฎหมายตั้งแต่ปี 2552 ที่เริ่มลดวงเงินคุ้มครองเป็นต้นไป เช่น เงินฝากของบริษัทมหาชน
มูลนิธิ องค์กรการกุศล สหกรณ์ประเภทต่างๆ เป็นต้น โดยบัญชีประเภทดังกล่าวถือเป็นบัญชีของผู้
ฝากเงินรายใหญ่ ซึ่งจะส่งผลดีทางจิตวิทยาต่อระบบการเงินของประเทศด้วย
สรุปคือ ประเทศไทยมีความจำเป็นที่ต้องขยายระยะเวลาคุ้มครองเงินฝากเพิ่มขึ้นอีก 2 ปี เพื่อ
เป็นมาตรการหนึ่งในการป้องกันมิให้ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลกมีผลกระทบต่อจิตวิทยาความเชื่อมั่น
ของผู้ฝากเงินในระบบสถาบันการเงินไทย รวมทั้งรักษาระดับความเชื่อมั่นของนักลงทุนและนิติ
4
บุคคลที่มีเงินฝากในบัญชีเกินกว่าที่กฎหมายเดิมกำหนดไม่ให้ตื่นตระหนกถอนเงินฝากของตน
ออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่ให้การคุ้มครองที่สูงกว่า ทั้งนี้ เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบการเงิน
และระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
บทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียนมิได้สะท้อนถึงองค์กรที่ผู้เขียนสังกัดแต่อย่างใด


ที่มาบทความ นาย จรัสวิชญ สายธารทอง


Question?
1.ประเทศไทยจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากภายใต้พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก โดยมีวัตถุประสงค์อะไร?
2.พระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวนเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครองเพิ่มขึ้น ได้ผ่านการเห็นชอบในหลักการจากคณะรัฐมนตรีเมื่อไหร่
3.จงบอกเหตุผลที่ประเทศไทยต้องขยายระยะเวลาคุ้มครองเงินฝากเพิ่มขึ้นอีก 2 ปี