--------------------------------------------------------------------------------------------------
กิจการสหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นจากการรวมตัวของสมาชิกในหน่วยงานเดียวกัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมให้สมาชิกออมเงิน และให้บริการเงินกู้ยืมแก่สมาชิกที่มีความจำเป็นเดือดร้อนทางการเงิน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าเจ้าของและผู้ใช้บริการในระบบสหกรณ์เป็นบุคคลเดียวกัน สมาชิกส่วนใหญ่ของสหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นชนชั้นกลางที่มีรายได้ประจำ การดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ค่อนข้างเป็นระบบปิดภายในเฉพาะหน่วยงานของตนเอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ภาพรวมระบบสหกรณ์ออมทรัพย์มีจำนวนสหกรณ์ตามทะเบียนทั้งสิ้น 1,291 แห่ง ในจำนวนนี้สามารถติดตามรวบรวมข้อมูลได้จำนวน 1,205 แห่ง มีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 2.29 ล้านคน และมีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 7.31 แสนล้านบาท
ระบบสหกรณ์ออมทรัพย์ มีจุดเด่นที่ทุนเรือนหุ้นซึ่งจะเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ตามข้อบังคับที่ให้สมาชิกถือหุ้นในสหกรณ์เพิ่มขึ้นทุกเดือน โดยบางสหกรณ์ได้นำระบบการคำนวณสัดส่วนการถือหุ้นของสมาชิกให้เพิ่มขึ้นตามระดับเงินเดือน ซึ่งทำให้สหกรณ์มีเงินทุนสำหรับการขยายผลการดำเนินงานให้เติบโตขึ้นค่อนข้างสม่ำเสมอ โดยข้อมูล ณ สิ้นปี 2550 สหกรณ์ออมทรัพย์สามารถให้บริการเงินกู้แก่สมาชิกได้ถึง 5.81 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 11.3% ของสินเชื่อรวมในระบบธนาคารพาณิชย์ไทยในปีเดียวกันที่มียอดคงค้างอยู่ทั้งสิ้น 5.16 ล้านล้านบาท
ทั้งนี้ ตัวเลขผลการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ค่อนข้างล่าช้า โดยล่าสุดมีถึงปี 2550 เท่านั้น แต่เนื่องจากแนวโน้มสถานการณ์เศรษฐกิจในปี 2552 อาจจะมีปัญหาจากวิกฤตเศรษฐกิจการเงินที่ต่อเนื่องมาจากปี 2551 จึงทำให้ประเด็นในเรื่องสภาพคล่องและการดำเนินการของสหกรณ์ออมทรัพย์เป็นประเด็นที่น่าสนใจ ถึงแม้ว่าการดำเนินธุรกิจของกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์ส่วนใหญ่ค่อนข้างเป็นระบบปิดภายในเฉพาะหน่วยงานของตนเอง แต่สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย อาจส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์ได้
แนวโน้มธุรกิจสหกรณ์ออมทรัพย์ปี 2552
เศรษฐกิจไทยในปี 2552 อาจจะเติบโตช้าลงเป็นประมาณ 0-1.2% เทียบกับในปี 2551 ที่คาดว่าจะเติบโตในระดับประมาณ 2.9% ซึ่งแม้เศรษฐกิจไทยอาจไม่ประสบภาวะถดถอยรุนแรงเหมือนที่เกิดขึ้นกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก แต่ต้องยอมรับว่าการเติบโตที่เกิดขึ้นนี้ เป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐเป็นสำคัญ ผ่านการใช้เงินงบประมาณทั้งเพื่อการลงทุนและการลดภาษีต่างๆ ขณะที่ในภาคเอกชน โดยเฉพาะในภาคเศรษฐกิจจริง (real sector) ล้วนแต่ได้รับผลกระทบค่อนข้างรุนแรง ถึงกับต้องปรับลดกำลังการผลิต และการจ้างงาน แม้แต่การปิดกิจการในบางแห่ง ซึ่งอาจส่งผลต่อระดับรายได้ของประชาชนโดยเฉพาะระดับกลางและล่างให้ลดลง เนื่องจากความสามารถในการจ่ายเงินเดือนเพิ่มและการรับพนักงานใหม่ขององค์กรต่าง ๆ มีแนวโน้มลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ
ปัจจัยดังกล่าว มีผลให้การดำเนินธุรกิจสหกรณ์ออมทรัพย์ในปี 2552 เผชิญความท้าทายเพิ่มขึ้น โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีมุมมองต่อประเด็นที่อาจมีผลต่อการดำเนินงานของกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์ ดังนี้
ระบบสหกรณ์ออมทรัพย์ มีจุดเด่นที่ทุนเรือนหุ้นซึ่งจะเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ตามข้อบังคับที่ให้สมาชิกถือหุ้นในสหกรณ์เพิ่มขึ้นทุกเดือน โดยบางสหกรณ์ได้นำระบบการคำนวณสัดส่วนการถือหุ้นของสมาชิกให้เพิ่มขึ้นตามระดับเงินเดือน ซึ่งทำให้สหกรณ์มีเงินทุนสำหรับการขยายผลการดำเนินงานให้เติบโตขึ้นค่อนข้างสม่ำเสมอ โดยข้อมูล ณ สิ้นปี 2550 สหกรณ์ออมทรัพย์สามารถให้บริการเงินกู้แก่สมาชิกได้ถึง 5.81 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 11.3% ของสินเชื่อรวมในระบบธนาคารพาณิชย์ไทยในปีเดียวกันที่มียอดคงค้างอยู่ทั้งสิ้น 5.16 ล้านล้านบาท
ทั้งนี้ ตัวเลขผลการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ค่อนข้างล่าช้า โดยล่าสุดมีถึงปี 2550 เท่านั้น แต่เนื่องจากแนวโน้มสถานการณ์เศรษฐกิจในปี 2552 อาจจะมีปัญหาจากวิกฤตเศรษฐกิจการเงินที่ต่อเนื่องมาจากปี 2551 จึงทำให้ประเด็นในเรื่องสภาพคล่องและการดำเนินการของสหกรณ์ออมทรัพย์เป็นประเด็นที่น่าสนใจ ถึงแม้ว่าการดำเนินธุรกิจของกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์ส่วนใหญ่ค่อนข้างเป็นระบบปิดภายในเฉพาะหน่วยงานของตนเอง แต่สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย อาจส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์ได้
แนวโน้มธุรกิจสหกรณ์ออมทรัพย์ปี 2552
เศรษฐกิจไทยในปี 2552 อาจจะเติบโตช้าลงเป็นประมาณ 0-1.2% เทียบกับในปี 2551 ที่คาดว่าจะเติบโตในระดับประมาณ 2.9% ซึ่งแม้เศรษฐกิจไทยอาจไม่ประสบภาวะถดถอยรุนแรงเหมือนที่เกิดขึ้นกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก แต่ต้องยอมรับว่าการเติบโตที่เกิดขึ้นนี้ เป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐเป็นสำคัญ ผ่านการใช้เงินงบประมาณทั้งเพื่อการลงทุนและการลดภาษีต่างๆ ขณะที่ในภาคเอกชน โดยเฉพาะในภาคเศรษฐกิจจริง (real sector) ล้วนแต่ได้รับผลกระทบค่อนข้างรุนแรง ถึงกับต้องปรับลดกำลังการผลิต และการจ้างงาน แม้แต่การปิดกิจการในบางแห่ง ซึ่งอาจส่งผลต่อระดับรายได้ของประชาชนโดยเฉพาะระดับกลางและล่างให้ลดลง เนื่องจากความสามารถในการจ่ายเงินเดือนเพิ่มและการรับพนักงานใหม่ขององค์กรต่าง ๆ มีแนวโน้มลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ
ปัจจัยดังกล่าว มีผลให้การดำเนินธุรกิจสหกรณ์ออมทรัพย์ในปี 2552 เผชิญความท้าทายเพิ่มขึ้น โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีมุมมองต่อประเด็นที่อาจมีผลต่อการดำเนินงานของกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์ ดังนี้
1. ความเสี่ยงต่อภาวะตึงตัวของสภาพคล่อง : แม้ว่าสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์อาจจะเผชิญความเสี่ยงจากการว่างงานน้อยกว่าแรงงานในภาคอุตสาหกรรมหรือบริการ แต่ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว สมาชิกอาจมีความต้องการสภาพคล่องเพิ่มขึ้นจากรายได้ที่อาจลดลง เช่น ค่าล่วงเวลา (OT) หรืออาจมีความจำเป็นที่ต้องใช้เงินมากขึ้น เพราะหมุนเงินยากขึ้น เป็นต้น
ดังนั้น จึงมีความเป็นได้สูงที่ระดับการออมของสมาชิกสหกรณ์อาจจะลดลงต่อเนื่องในปีนี้ สวนทางกับความต้องการสินเชื่อที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากรายได้อาจจะเพิ่มขึ้นช้าลง ขณะที่ค่าครองชีพยังอยู่ในเกณฑ์สูง แม้ว่าปัญหาเงินเฟ้อและราคาน้ำมันจะคลี่คลายลงในปีนี้ก็ตาม แต่ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปไม่ได้ปรับลดลงตามในสัดส่วนเดียวกัน
ปัจจัยข้างต้นอาจส่งผลให้สภาพคล่องทางการเงินในระบบสหกรณ์ออมทรัพย์ลดลง ดังนั้น แม้ว่าทิศทางอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินจะมีแนวโน้มอ่อนตัวลงชัดเจนในปีนี้ แต่สหกรณ์ออมทรัพย์บางแห่งอาจยังไม่สามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงได้เร็วและมากเท่าตลาดได้ เนื่องจากอาจจะส่งผลกระทบให้เงินฝากไหลออก ขณะเดียวกัน กระแสการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้น่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ ซึ่งอาจส่งผลให้แนวโน้มผลประกอบการของกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์มีกำไรลดลงตามไปด้วย
2. สหกรณ์ออมทรัพย์ที่สมาชิกส่วนใหญ่มีภาระหนี้สินมากกว่าเงินออม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ในภาคราชการ เช่น ตำรวจ ทหาร และครู อาจได้รับผลกระทบมากกว่าสหกรณ์ ที่สมาชิกส่วนใหญ่มีเงินออมมากกว่าภาระหนี้สิน เนื่องจากมีความจำเป็นต้องพึ่งแหล่งเงินกู้ยืมจากภายนอก ขณะที่แหล่งเงินกู้อาจระมัดระวังปัญหาความเสี่ยงด้านเครดิตที่เพิ่มขึ้นในภาวะเศรษฐกิจซบเซา ไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืมจากสหกรณ์ออมทรัพย์อื่น หรือจากระบบธนาคารพาณิชย์ก็ตาม โดยอาจส่งผลให้วงเงินสินเชื่อลดลง หรือแม้แต่ต้นทุนการกู้ยืมแพงขึ้น ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของสหกรณ์ฯเองในปี 2552 ในเรื่องความสามารถในการทำกำไร และแนวโน้มการจ่ายปันผลแก่สมาชิกในอัตราที่ลดลงแล้ว ยังอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของสมาชิกสหกรณ์บางส่วนด้วย โดยเฉพาะในรายที่จำเป็นต้องพึ่งเงินกู้หมุนเวียนเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจต้องขอรับบริการทางการเงินจากแหล่งเงินกู้นอกระบบ
3. ความสามารถในการชำระหนี้ เป็นประเด็นที่ต้องเฝ้าระวัง และติดตามต่อไป แม้ว่าในภาพรวมทั้งระบบสหกรณ์ออมทรัพย์ปี 2550 จะมีหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพียง 1,146 ล้านบาท คิดเป็น 0.2% ของลูกหนี้เงินกู้คงค้างทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก 30% ของเงินให้กู้ยืมเป็นการกู้ยืมเพื่อชำระคืนหนี้เดิม ซึ่งบ่งชี้ว่าหากลูกหนี้กลุ่มนี้ประสบปัญหาเรื่องการบริหารรายได้กับรายจ่ายแล้ว จึงอาจมีความเสี่ยงที่ลูกหนี้กลุ่มนี้จะกลายเป็นหนี้เสียได้มาก
--------------------------------------------------------
แหล่งที่มา : http://www.siamrath.co.th/UIFont/Articledetail.aspx?nid=2663&acid=2663
คำถาม
1. กิจการสหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นจากการรวมตัวของสมาชิกในหน่วยงานเดียวกัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่ออะไร
2. จุดเด่นของระบบสหกรณ์ออมทรัพย์ คืออะไร
3. ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีมุมมองต่อประเด็นที่อาจมีผลต่อการดำเนินงานของกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์อย่างไร
No comments:
Post a Comment